เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.เป็นต้นไป ตำรวจภูธรจังหวัดน่านได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานกำกับและติดตามการดำเนินการโครงการพัฒนาระบบงานสืบสวนอุบัติเหตุเพื่อแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอย่างบูรณาการ (อบถ.) ขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักงานการศึกษาพื้นที่เขต ๑ จังหวัดน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผบก.ภ.จว.น่าน (พล.ต.ต.ณรงค์ชัย วงษ์สามี) รอง ผบก.ภ.จว.น่านที่รับผิดชอบงานจราจร (พ.ต.อ.สมพงษ์ สวนคร้ามดี), หัวหน้าสถานีตำรวจ,รอง ผกก.สส.,รอง ผกก.ป.,สวป.,สว.จราจร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกสถานี (๒๐ สถานี) , เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด,อำเภอในเขตพื้นที่ รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐ คนโดยมี พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบกลาง (รอง ผบช.ก.) และนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ทำหน้าที่วิทยากร
หลังจากพิธีเปิดการอบรมเสร็จสิ้นแล้วเป็นการบรรยายของนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรคในภาพรวมทั่วไปของโครงการนี้
ต่อมาเป็นการบรรยายของ พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ รอง ผบช.ก.สรุปได้ว่าแนวคิดในการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนนั้นสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่ทำให้ประชาชนสูญเสียมูลค่าทางทรัพย์สินนับแสนล้านบาท บาดเจ็บ พิการ ทุพลภาพกว่าแสนคนและเสียชีวิตจำนวนหมื่นกว่าคนเศษต่อปี ปัญหาและความเสียหายมากมายขนาดนี้หลายฝ่ายได้ร่วมกันแก้ไขและป้องกันในระยะ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาตามความคิด ศักยภาพและความรู้ความสามารถอย่างหลากหลายวิธีการอย่างไรก็มีส่วนถูกต้องและสามารถลดปัญหาลดอุบัติเหตุได้ทั้งสิ้นแต่แนวทางแก้ไขและป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสมและน่าจะเกิดผลดีต่อการลดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดควรจะเป็นอย่างไร....
...ผลสรุปจากการประชุมสัมมนาของตำรวจผู้บริหารงานจราจรระดับตำรวจภูธรจังหวัดและระดับตำรวจภูธรภาครวมทั้งตำรวจทางหลวงและตำรวจนครบาลทั่วประเทศร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในหลายครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดประชุมสัมมนาจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) โครงการสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (ศอจร.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ผ่านมาพบว่า “การแก้ปัญหาที่สาเหตุ” จะเป็นคำตอบสุดท้ายของแนวทางการแก้ไขและป้องกัน อบถ. เสมอ นั่นคือที่มาของ“โครงการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย
๑. พนักงานสอบสวนเวรรับผิดชอบประจำสถานีตำรวจท้องที่ที่ได้รับแจ้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนซึ่งออกไปสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดในคดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอยู่แล้ว ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุอื่นๆประกอบเพิ่มเติมด้วย ได้แก่ สภาพของรถ สภาพของถนน และสภาพแวดล้อมบริเวณถนนที่เกิดเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยนอกเหนือจากความประมาทของคนขับรถโดยมีตำรวจจราจรอีก ๑ คน เป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนที่ร่วมตรวจและสืบสวน อบถ. ตามแบบรายงานการสืบสวน อบถ. ที่กำหนดไว้
๒. คณะกรรมการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน (กปถ.) ของสถานีตำรวจท้องที่ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าสถานีตำรวจ รอง ผกก. และ สว. ที่ทำหน้าที่จราจรร่วมกันประชุมวิเคราะห์ข้อมูล อบถ. ตามแบบรายงานการสืบสวน อบถ. ดังกล่าวเพื่อสรุปหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่ถูกต้องตรงจุดต่อไป
๓. คณะกรรมการ กปถ. อำเภอ ซึ่งประกอบด้วยตำรวจท้องที่และภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องภายในอำเภอ เช่น ปภ. ขนส่งทางบก การทาง สาธารณสุข ประกันภัย สถาบันการศึกษา เป็นต้น ร่วมกันประชุมพิจารณาผลสรุปสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่เกิดขึ้นตามที่คณะกรรมการ กปถ. สถานีตำรวจรวบรวมเสนอในรอบระยะเวลา ๑ เดือน เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน อบถ.ในภาพรวมระดับอำเภอ
๔. คณะกรรมการ กปถ. ระดับจังหวัด ตำรวจภูธรภาคและ ตร. ร่วมกันประชุมพิจารณาผลสรุปของสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่เกิดขึ้นตามที่คณะกรรมการ กปถ. อำเภอ จังหวัด และตำรวจภูธรภาค รวบรวมเสนอตามลำดับจนถึงระดับ ตร. ในรอบระยะเวลา ๑ เดือน โดยมีการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็คทรอนิคส์ในทุกระดับของคณะกรรมการ กปถ. เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน อบถ. ในภาพรวมของประเทศต่อไป (รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนนนั้นท่านสามารถคลิกดูเพิ่มเติมได้ที่http://www.roadsafetyteam.police.go.th)
สำหรับการอบรมในช่วงบ่ายนั้นเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.โดยเป็นการเรียนรู้วิธีการประมวลผลและวิเคราะัห์ข้อมูล อบถ.โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และฝึกปฏิบัติืของหัวหน้าสถานีตำรวจและเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น